ทัชมาฮาล อนุสรณ์แห่งความรัก
ทัชมาฮาล อนุสรณ์แห่งความรัก
ทัชมาฮาล ยูเนสโกประกาศให้ทัชมาฮาลเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 1983 เนื่องด้วยเป็นเสมือนเพชรน้ำเอกของศิลปะมุสลิมในอินเดีย ได้รับการโหวตให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1631-1653 ใช้เงินทุนมหาศาล ช่างฝีมือจำนวนประมาณ 20,000 คน กับเทคนิคการแกะหินอ่อนใส่หินสีประดับลงไปในช่องหินให้เป็นลวดลาย สร้างจากหินอ่อนสีงาช้างทั้งหลัง และมีความสมมาตรอย่างไร้ที่ติ ซึ่งแสดงถึงสวรรค์ในอุดมคติของมุสลิมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารและสวนล้วนสมมาตรกันอย่างพอดี
พระเจ้าชาห์ จาฮาน ผู้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของราชวงศ์โมกุล ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี เป็นผู้โปรดให้สร้างทัชมาฮาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่พระนางมุมตัช มาฮาล หนึ่งในภรรยาที่จากไปก่อนเวลาอันควร
เดิมทีพระเจ้าชาห์ จาฮานมีภรรยาทั้งสิ้น 7 คน และพระนางมุมตัช มาฮาล เป็นคนที่ 4 พระองค์ได้พบกับพระนางมุมตัชตั้งแต่สมัยพระนางยังอายุเพียง 14 ปี มีชื่อเดิมว่า อรชุนด์ พาโน เพคุม และเป็นที่ต้องพระทัยในทันทีกระทั่งได้จัดพิธีอภิเษกขึ้น หลังจากนั้นทั้งคู่ก็เป็นดั่งคู่รักที่ไม่เคยแยกห่างกันเลย
พระนางมุมตัช มาฮาล จากไปขณะที่คลอดบุตรคนที่ 14 เกิดอาการตกเลือดมากจนสิ้นพระชนม์ ซึ่งทำให้พระเจ้าชาห์ จาฮานเสียพระทัยอย่างสุดซึ้ง จึงทรงให้สร้างทัชมาฮาลเพื่อเป็นสุสานให้พระนางมุมตัช มาฮาล หญิงอันเป็นที่รักขึ้น
ทัชมาฮาล สร้างขึ้นที่ริมแม่น้ำยมุนา ห่างจากกรุงนิวเดลีประมาณ 200 กิโลเมตร เฉพาะโดมขนาดใหญ่ตรงกลางนั้นมีขนาด 15.2 เมตร สูง 24.4 เมตร มีหอสูงอยู่ 4 มุม วางผังอาคารในลักษณะสมมาตร การสร้างนั้นกินเวลาทั้งสิ้น 22 ปี การตกแต่งถือเป็นงานละเอียดในการแกะหินอ่อน เพื่อประดับหินสีลงไปเป็นลวดลายต่างๆ ส่วนโดมตรงกลางนั้นมีแท่นวางหีบพระศพทำด้วยหินอ่อนวางอยู่ มีฉากกั้นฉลุลายอีกชั้นหนึ่ง แต่ทว่าพระศพที่แท้จริงถูกฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบพระศพนั้น
หลังจากการสร้างทัชมาฮาลเสร็จสิ้น หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าบรรดาช่างฝีมือถูกฆ่าทั้งหมด เพื่อที่จะได้ไม่มีการไปสร้างงานฝีมือที่สวยงามลักษณะนี้ที่ไหนอีก ทว่าก็เป็นเพียงช่าวลือ ในความจริง ช่างฝีมือได้รับค่าตอบแทนจำนวนมากพอที่จะไม่ต้องไปรับงานทำงานฝีมือในลักษณะนี้ที่ไหนเพิ่มอีก ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งก่อสร้างที่ใดเลยจะเสมอเหมือนทัชมาฮาลได้
มีเรื่องเล่าต่อกันว่าพระเจ้าชาห์ จาฮานมีแผนที่จะสร้างทัชมาฮาลสีดำขึ้นอีกแห่งหนึ่งเพื่อเป็นสุสานของพระองค์เอง ทว่าพระองค์ถูกพระเจ้าออรังเซบ ผู้เป็นบุตรชาย ยึดอำนาจเสียก่อน เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นเรื่องจริง ส่วนที่เป็นเรื่องจรงิก็คือการยึดอำนาจของพระเจ้าออรังเซพผู้เป็นบุตรชาย
แท้จริงแล้วพระเจ้าชาห์ จาฮานขึ้นครองราชย์ด้วยการยึดอำนาจจากบิดาและเข่นฆ่าพี่น้องของตนเองอีกทีเพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจ เมื่อถึงคราวพระองค์ถูกบุตรชายยึดอำนาจ พระเจ้าออรังเซพยังไม่ปลิดชีพชาห์ จาฮานผู้เป็นบิดา ทว่านำตัวพระองค์ไปคุ้มขังไว้ที่ป้อมอัครากระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีก 7 ปีต่อมาขณะมีพระชน์ได้ 74 พรรษา ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าออรังเซพยึดอำนาจนั้น เป็นไปได้ว่าพระเจ้าชาห์ จาฮานผู้เป็นบิดาทุ่มเททางการเงินกับการสร้างทัชมาฮาลมากจนเกินไป จนทำให้อาณาจักรเริ่มมีปัญหา อีกทั้งยังขาดความใส่ใจในกิจการบ้านเมือง จนต้องเกิดการยึดอำนาจ และต่อมาในภายหลังพระเจ้าออรังเซพก็จัดว่าเป็น 1 ในกษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ ขยายดินแดนของอาณาจักรออกได้มากที่สุดของราชวงศ์โมกุลเลยทีเดียว
เมื่อชาห์ จาฮานสิ้นพระชนม์ จึงได้นำพระศพของพระองค์ไปฝังไว้เคียงข้างกับพระนางมุชตัช มาฮาลที่อุโมงค์ใต้โดมของทัชมาฮาล และมีโลงหินอ่อนวางคู่กันสองโลงที่ด้านบน เรียกได้ว่าได้กลับมาอยู่เคียงข้างกันอีกครั้งหนึ่งแม้จะปราศจากลมหายใจแล้วก็ตาม
by TL NOK
ทัวร์อินเดีย แคชเมียร์ ทัชมาฮาล สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย ชมโปรแกรมทัวร์ได้ที่ https://www.planetworldwide.com/india
ค้นหา : ทัวร์อินเดีย อินเดีย ทัวร์แคชเมียร์
ทัวร์แนะนำ
บทความท่องเที่ยว อับเดตล่าสุด
TOP