ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอียิปต์
ฟาโรห์รามเสสที่ 2 แห่งอียิปต์
1 ในฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ฟาโรห์ คือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของอียิปต์โบราณ คำว่า ฟา หมายถึงบ้านหลังใหญ่ ส่วนโรห์ หมายถึงผู้ปกครอง เมื่อรวมกันฟาโรห์จึงหมายถึงตำแหน่งกษัตริย์นั่นเอง ในบรรดาฟาโรห์ของอียิปต์โบราณนั้น หนึ่งในฟาโรห์ที่เป็นที่รู้จักและยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลเห็นจะต้องมีฟาโรห์รามเสสที่ 2 รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักพระองค์กัน
ฟาโรห์รามเสสที่ 2 เกิดเมื่อ 1303 ปีก่อนคริสตกาล และสิ้นพระชนม์เมื่อ 1213 ปีก่อนคริสตกาล สิริรวมอายุได้ 90 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งสำหรับยุค 3200 ปีที่แล้ว ที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก ทว่าพระองค์กลับมีอายุยืนยาวถึงเพียงนี้ ในรัชกาลของพระองค์มีการฉลองเทศลกาลเซด ถึง 14 ครั้ง มากกว่าฟาโรห์องค์ใดในประวัติศาสตร์ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการจัดเทศกาลดังกล่าวเมื่อฟาโรห์ครองราชย์ครบ 30 ปีแรก และจะจัดต่อเนื่องอีกทุก 3 ปีหลังจากนั้น จึงคาดว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ในวัยที่เขาสู่วัยรุ่นตอนแรก ประมาณ 1279 ปีก่อนคริสกาล
ฟาโรห์รามเสสที่ 2 เป็นบุตรของฟาโรห์เซติที่ 1 อีกหนึ่งผู้ปกครองอันเกรียงไกรของอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นผู้สร้างวิหารแห่งเมืองอไบดอสอันโด่งดัง ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ผู้เป็นบุตรชายก็ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าชายผู้สำเร็จราชการตั้งแต่มีอายุเพียง 14 ชันษาเท่านั้น และเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ก็ได้สร้างวิหารพร้อมทั้งรูปสลักของพระองค์เองไว้มากมายทั่วอาณาจักรอียิปต์
ชีวิตสมรสของฟาโรห์รามเสสที่ 2 นั้นคือครอบครัวที่ใหญ่มาก เฉพาะชายาอย่างเป็นทางการมีชื่อจารึกมีมากถึง 7 คน ได้แก่ Nefertari, Isetnofret, Maathorneferure, Meritamen, Bintanath, Bebettawy และ Henutmire บางองค์นั้นคือลูกสาวของพระองค์เองด้วย ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แต่เป็นการรักษาสายเลือดบริสุทธิ์ไว้สืบต่อไป คาดกันว่าชายาองค์โปรดที่สุดของพระองค์ก็คือพระนางเนเฟอร์ตารี เพราะว่าเป็นผู้หญิงหนึ่งเดียวที่มีวิหารของตนเองอยู่ข้างวิหารของพระองค์ที่อาบูซิมเบล ซึ่งไม่เคยปรากฏธรรมเนียมเช่นนี้มาก่อน
ในส่วนของบุตรธิดา ตัวเลขยังไม่เป็นที่ชัด คาดว่ามีจำนวนรวมประมาณ 88-103 พระองค์ ซึ่งมีบุตรชาย 28 พระองค์ มีการจารึกชื่อไว้ชัดเจนในสุสานที่หุบผากษัตริย์ เมืองลักซอร์ สำหรับธิดาทราบชื่อเพียงบางพระองค์เท่านั้น โดยบุตรชายองค์ที่ 13 ชื่อว่า Merneptah ได้ขึ้นเป็นฟาโรห์องค์ต่อไป ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารเป็นอย่างมาก
ทางด้ารการทหาร ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ก็มีผลงานมากมาย ภายในปีที่ 4 ของการครองราชย์ พระองค์ก็ทำกองทัพขึ้นเหนือเพื่อตีเมืองที่เคยสูญเสียไปในรัชสมัยของเซติที่ 1 ผู้เป็นบิดาคืนมา แม้ว่าเมืองในแถบตอนใต้ ซึ่งก็คือประเทศซูดานตอนเหนือในปัจจุบันนั้นจะมีชาวนูเบี้ยนอาศัยอยู่ และตั้งตนกระด้างกระเดื่องเป็นศัตรูกับอาณาจักรอียิปต์เรื่อยมาก อีกทั้งชาวฮิตไทต์ที่กำเริบเสิบสานในทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือนั่นอีก
ตลอดรัชกาลของฟาโรห์รามเสสที่ 2 พระองค์พยายามอย่างยิ่งยวดในการกำราบชนชาติเหล่าให้อยู่ในอาณัติ หลักฐานอันชัดเจนประการหนึ่งก็คือการสร้างวิหารอาบูซิมเบล ซึ่งตั้งอยู่กล่งทะเลทรายที่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก แต่เป็นการประกาศศักดาของพระองค์ในฐานผู้ปกครองอันพิชิตดินแดนในแถบนี้ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่ให้ชาวนูเบี้ยนคิดจะต่อกรด้วย
การยกทัพในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยรถม้าศึกและทหารราบแต่ละกองมีทหารประมาณ 5000 นาย มีการจารึกถึงการศึกของพระองค์ไว้มากมายที่วิหารต่างๆ อาทิ ที่วิหารอาบูซิมเบลมีการสลักาภพพระองค์กำลังอยู่บนรถม้าศึกในทีท่าขึงจังพร้อมรบ รายล้อมด้วยศัตรูที่ต้องถูกพระองค์ฆ่า โดยเฉพาะตัวผู้นำของชนเผ่าอื่นๆ ที่มักจะอยู่ในสภาพถูกกุดศีรษะ หรือไม่ก็ถูกจับมัดตัวงออยู่ภายใต้พระบาทของพระองค์
ในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์นั้น ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ไม่ได้ชนะในการศึกเสมอไป มีหลายต่อหลายครั้งที่พระองค์พ่ายแพ้ และจบศึกด้วยการเจรจา หรือต่างฝ่ายต่างอยู่ ทว่าการจารึกเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ผนังวิหารถือเป็นการสร้างอำนาจบารมีอย่างหนึ่งที่ต้องกระทำให้ดูยิ่งใหญ่เกรียงไกรไว้ก่อนเสมอ
วิหารคาร์นัค ซึ่งนับว่าเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรอียิปต์ และใหญ่ที่สุดตลอดกาลของอียิปต์ เนื่องด้วยมันคือวิหารที่ซ้อนอยู่ในวิหารจนขยายขนาดออกไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้ ซึ่งเป็นเสมือนพันธกิจที่ฟาโรห์ทุกพระองค์ของอียิปต์จะต้องมาประกาศความยิ่งใหญ่ของตน และแสดงตนเป็นผู้ที่ติดต่อกับเทพเจ้าอย่างเคร่งครัดและได้รับการยอมรับจากเทพเจ้า จึงต้องมาสร้างวิหารของตนเองไว้ที่นี่
แน่นอนว่าฟาโรห์รามเสสที่ 2 ก็ได้มาสร้างห้องสำคัญไว้ที่วิหารคาร์นัคเช่นกัน นั่นคือห้องโถงใหญ่แบบไฮโปสไตล์ ซึ่งเป็นเสาขนาดยักษ์ถึง 134 ต้นเพื่อรองรับคานอีกที ทั้งหมดนี้มีการสลักพระนามรามเสสที่ 2 ไว้อย่างเด่นชัดขนาดใหญ่ไว้โดยทั่ว
อีกผลงานหนึ่งของพระองค์ก็คือการสร้างวิหารที่เมืองอไบดอสเพื่อบูชาเทพฮอรัส ที่เริ่มสร้างมาตั้งแต่รัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 ผู้เป็นพ่อให้จนเสร็จสิ้น ซึ่งวิหารแห่งนี้เป็นที่โด่งดังในเรื่องของภาพสลักที่มีรูปบางอย่างคล้ายจานบินยูเอฟโอ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงจนถึงปัจจุบันว่ามันคืออะไรกันแน่
นอกจากนี้ยังมีวิหารที่เรียกกันว่าราเมเซียมสำหรับทำมัมมี่ของตัวพระองค์เองตั้งอยู่ที่เมืองลักซอร์ และพระองค์สร้างวิหารอีกอย่างน้อย 6 แห่งที่บริเวณตอนใต้ของอาณาจักร รวมถึงอาบูซิมเบล โดยมี 2 วิหารที่เป็นแกะภูเขาหินตามธรรมชาติลูกให้กลายเป็นวิหาร
รูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในอิริยาบถประทับบนเก้าอี้ 4 องค์ขนาดใหญ่ยักษ์หน้าวิหารอาบูซิมเบลที่แม้จะมีองค์หนึ่งหักกลางลำตัวและพังลงมาแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่างดงามยิ่ง คาดว่าเป็นใบหน้าของพระองค์เมื่อสมัยยังหนุ่มซึ่งต้องยอมรับว่ารูปงามมาก แม้นักประวัติศาสตร์จะเสนอแนวคิดที่ว่าบางครั้งผู้ปกครองอาจจะไม่ได้ใบหน้าที่งดงามดังที่แสดงออกมาตามรูปสลักก็ตาม แต่ทว่ารูปสลักจำเป็นจะต้องดูดีไว้ก่อนเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์อันดีให้แก่สถาบันกษัตริย์เป็นธรรมดา
รูปสลักที่ดีที่สุดของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ตั้งอยู่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองเมมฟิส ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปประทับยังพิพิธภัณฑ์ใหญ่ หรือ Grand Egyptian Museum แล้ว เป็นรูปสลักประทับยืนขนาดสูงถึง 11 เมตร ทำจากหินปูน หนัก 83 ตันเรียกได้ว่าทั้งยิ่งใหญ่และสวยงามในเวลาเดียวกัน
รัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่รุ่งโรจน์ที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ น่าเสียดายที่สุสานของพระองค์ที่หุบผากษัตริย์ถูกปล้นสะดมไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่อาจทราบได้ เหลือเพียงห้องโถงสี่ขนาดใหญ่อันว่างเปล่า ยากจะยินตนาการได้ว่าสุสานของฟาโรห์ซึ่งครอบราชย์มาอย่างยาวนานขนาดนี้จะมีทรัพย์สมบัติเพื่อฝังลงไปในสุสานมากมายเพียงใด
ปัจจุบันนี้มัมมี่ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 จัดแสดงอยู่ในห้องมัมมี่ราชวงศ์ ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อารยธรรมอียิปต์แห่งชาติ ณ กรุงไคโร ซึ่งถ้ามีโอกาสได้ไปเยือนอียิปต์ จะพบว่ามัมี่ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 คือชายสูงวัยรูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง คาดว่าเมื่อสมัยที่ยังคงพระชนม์ชีพน่าจะมีหน้าตาที่งดงามไม่น้อย
ค้นหา : ทัวร์อียิปต์ ฟาโรห์รามเสสที่-2 ทัวร์ตะวันออกกลาง ฟาโรห์
ทัวร์แนะนำ
บทความท่องเที่ยว อับเดตล่าสุด
TOP